ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ทานยารักษา Hyperthroid สามารถให้นมบุตรได้หรือไม่

อยากสอบถามเกี่ยวกับ ยาที่กินเพื่อรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษเพิ่งเริ่มกินค่ะแต่ก็กำลังให้นมบุตรอยู่ ถามคุณหมอกับเจ้าหน้าที่ทีคลีนิคนมแม่แล้วว่าสามารถให้นมบุตรต่อได้ กิน Methimazol 5mg สามเม็ดหลังอาหารเช้าทุกวัน+Propranolol 10mg 1 เม็ดหลังอาหารเช้า,เย็น ไม่แน่ใจว่ายาสามารถผ่านน้ำนมส่งผลกระทบต่อเด็กได้หรือไม่ ขอบคุณมากค่ะ

[รหัสคำถาม : 431] วันที่รับคำถาม : 01 ธ.ค. 65 - 13:09:18 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นกลุ่มความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์และการหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนโดยต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป ซึ่งนำไปสู่ภาวะที่มีการทำงานของระบบเผาผลาญของร่างกายมากกว่าปกติ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การรับประทานยาต้านไทรอยด์ การบำบัดด้วยสารกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน-131 (131I) หรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ [1]
...
การรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือ Hyperthyroidism โดยการใช้ยา มียาที่ใช้ในการรักษาอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ Propylthiouracil (PTU), Carbimazole (CMZ) และ Methimazole (MMI) ซึ่งยาเหล่านี้ มีการขับผ่านทางน้ำนมเพียงเล็กน้อย ซึ่งจากการศึกษาในมารดา 9 คน ที่รับประทานยา Propylthiouracil 200 mg เมื่อทำการวัดปริมาณยา Propylthiouracil ในน้ำนมหลังรับประทานยา 4 ชั่วโมง พบปริมาณยา Propylthiouracil 0.007% - 0.077% ของปริมาณยาที่รับประทาน เมื่อคำนวณถึงปริมาณยาที่มารดารับประทาน Propylthiouracil 200 mg 3 ครั้งต่อวัน จะมียาขับออกผ่านทางน้ำนมไปยังทารก 0.49 µg (0.149 mg) ต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าที่ใช้ในการรักษา ส่วนมารดาที่รับประทานยา Methimazole จะพบปริมาณยาในน้ำนม 0.1% - 0.2% ของปริมาณยาที่มารดารับประทาน เมื่อคำนวณตามขนาดยาที่มารดารับประทาน คือ Methimazole 40 mg วันละ 1 ครั้ง จะมีปริมาณยาขับออกทางน้ำนมไปยังทารก 70 µg (0.07 mg) และมีการแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยา Methimazole ให้ห่างจากการให้นมบุตร โดยรับประทานยา 3-4 ชั่วโมง ก่อนให้นมบุตรในครั้งถัดไป [2] นอกจากนี้ยังมีการศึกษา พบว่า ทารกที่ได้รับนมจากมารดาที่กำลังรับประทานยา Methimazole ขนาดไม่เกิน 30 mg ต่อวัน มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ในเดือนที่ 12 ของการรับประทานยา Methimazole ของมารดาที่ให้นมบุตร พบว่าระดับฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในช่วงปกติ [3]
...
ดังนั้นมารดาที่กำลังให้นมบุตรจึงสามารถใช้ยา Propylthiouracil และ Methimazole ได้ โดยขนาดยาที่แนะนำ คือ ยา Methimazole ขนาด 20-30 mg ต่อวัน หรือ Propylthiouracil ขนาดไม่เกิน 300 mg ต่อวัน [4] และในระหว่างการใช้ยาแนะนำให้มีการติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกอย่างสม่ำเสมอ โดยพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
...
เอกสารอ้างอิง
[1] Stephanie LL. Hyperthyroidism and thyrotoxicosis [Internet]: American College of Endocrinology, American Thyroid Association, Endocrine Society; 2022 [cited 2022 November 20]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/121865-overview.
[2] American Thyroid Association. 2017 Guidelines of the American Thyroid Association for the diagnosis and management of thyroid disease during pregnancy and the postpartum [Internet]. Thyroid. 2017 [cited 20 November 2022]. Available from: https://www.liebertpub.com/doi/10.1089/thy.2016.0457?url_ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori%3Arid%3Acrossref.org&rfr_dat=cr_pub++0pubmed
[3] Azizi, F. Thyroid function in breast-fed infants is not affected by methimazole-induced maternal hypothyroidism. Results of a retrospective study. J Endocrinol Invest [Internet].2003 [cited 20 November 2022]; 26, 301–304. Available from: https://doi.org/10.1007/BF03345176
[4] Karras S, Krassas GE. Breastfeeding and antithyroid drugs: a view from within. Eur Thyroid J. 2012;1(1):30-3.

วันที่ตอบ : 03 ธ.ค. 65 - 20:45:48




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110