ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ข้อบ่งใช้ chlorhexidine ในการล้างหน้า

ผู้ป่วยหญิงไทยเดี่ยว มีอาการติดเชื้อที่ใบหน้าเป็นวงกว้าง มาซื้อ chlorhexidine พร้อมใบสั่งแพทย์ครับ แจ้งว่าแพทย์ให้ใช้เช็ดใบหน้าครับ ที่ร้านมี chlorhexidine 4% อยู่ครับ เลยอยากทราบว่าต้องแนะนำผู้ป่วยอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ยาครับ

[รหัสคำถาม : 448] วันที่รับคำถาม : 05 ม.ค. 66 - 21:07:22 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การติดเชื้อบนใบหน้า มีสาเหตุมาจากการมีบาดแผลหรือรอยแยกบริเวณผิวชั้นหนังแท้ (dermis) ทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหนัง
แทรกซึมเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ มีอาการแสดง เช่น ผิวหนังบวม แดง ร้อนและกดเจ็บ เป็นต้น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการ
ติดเชื้อได้แก่ การบาดเจ็บที่ผิวหนัง สภาพผิวที่มันหรืออับชื้น โรคอ้วน และ โรคเบาหวาน ซึ่งภาวะนี้สามารถรักษาได้โดยการกินหรือ
ทายาต้านจุลชีพบริเวณรอยโรค [1]
...
Chlorhexidine เป็นสารทำลายเชื้อ (disinfectants) และสารระงับเชื้อ (antiseptics) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (bactericidal), ยับยั้งการ
เจริญเติบโตของแบคทีเรีย (bacteriostatic), ฆ่าเชื้อราและไวรัสบางชนิด มีข้อบ่งใช้ในการทำความสะอาดผิว กลไกการออกฤทธิ์
คือส่วนที่มีประจุบวกของ chlorhexidine จะเข้าไปจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียบริเวณฟอสเฟตที่มีประจุลบ และทำลายเยื่อหุ้มเซลล์
ของแบคทีเรียทำให้เกิดการรั่วไหลของ cytoplasm [2,3] ในการลดการติดเชื้อแบคทีเรียบนใบหน้านิยมใช้สารละลาย chlorhexidine
gluconate ความเข้มข้น 4% จากการศึกษาทางคลินิกแบบไปข้างหน้า (prospective) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ
แบคทีเรียของสารละลาย 4 ชนิดที่มีข้อบ่งใช้ในการทำความสะอาดใบหน้าได้แก่ 0.01% hypochlorous acid (HA) solution, 5%
povidone iodine (PI), 4% chlorhexidine gluconate (CHG), 70% isopropyl alcohol (IPA) ในการเช็ดทำความสะอาดผิวหน้า
ของผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 21 รายที่ไม่ได้กำลังใช้ยาต้านจุลชีพรูปแบบกินหรือทาและไม่เคยมีประวัติติดเชื้อ
ที่ผิวหนังจากการใช้ยาฉีด ทำการแบ่งแก้มขวาของผู้เข้าร่วมทุกรายออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนถูกเช็ดด้วยสารละลาย 70% IPA 5%
PI 4% CHG หรือ 0.01% HA เป็นเวลา 1 นาทีจากนั้นใช้สำลีสวอบ (swab) ผิวหน้าและนำไปวัดค่าการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
พบว่า ผิวหน้าบริเวณที่ได้ทาสารละลาย 4% CHG สามารถลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้มากกว่าสารละลายชนิดอื่นอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีจำนวนผู้ป่วยที่ยังตรวจพบการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย 10% (2/21 ราย) และพบเฉพาะเชื้อ
Staphylococcus epidermidis ในขณะที่ผิวหน้าบริเวณที่ได้รับสารละลาย IPA PI และ HA มีจำนวนผู้ป่วยที่ยังตรวจพบเชื้อ
แบคทีเรีย 71% (14/21 ราย) 81% (17/21 ราย)และ 95% (20/21 ราย) ตามลำดับ โดยยังคงตรวจพบเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
ในกลุ่ม staphylococcus spp. และกลุ่ม corynebacterium spp. [4]
...
การใช้สารละลาย 4% chlorhexidine gluconate ทำความสะอาดผิวหน้า มีข้อควรระวังคือ หลีกเลี่ยงการเช็ดบริเวณใกล้ดวงตา
เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือรอยถลอกที่กระจกตา กระจกตาบวมและอักเสบและอาจทำให้ตาบอดได้ [5] รวมทั้ง
ไม่ควรใช้ในการทำความสะอาดผิวหน้าในบริเวณกว้างอย่างเป็นประจำ ยกเว้นในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีความจำเป็น
ต้องลดจำนวนแบคทีเรียบนผิวหน้า [3]

เอกสารอ้างอิง
[1]. Center for disease control and prevention. skin Infections. [internet]. 2022. Accessed Oct. 11, 2022
Available from: https://www.cdc.gov/antibiotic-use/skin-infections.html.
[2]. Sweetman SC, Martindale: The Complete Drug Reference. London: Pharmaceutical Press. Electronic version, 36th
Ed., 2009. pp1635-1637.
[3]. Chlorhexidine Topical. In: Lexi-drugs online [database on internet]. Hudson (OH): Lexicomp,Inc.; 2022 [updated 15 Nov.
2022; cited 18 Nov. 2022]. Available from:https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/6571920cesid=1paJ
mkO6MRX&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dchlorhexidine%26t%3Dname%26acs%3Dtrue%26acq%3Dchlor#.
[4]. Tran AQ, Topilow N, Rong A, Persad PJ, Lee MC, Lee JH, Anagnostopoulos AG, Lee WW. comparison of Skin Antiseptic
Agents and the Role of 0.01% Hypochlorous Acid. Aesthet Surg J. 2021 Sep. 14;41(10):1170-1175. doi: 10.1093/asj/sjaa322.
[5]. Epstein NE. perspective on ocular toxicity of presurgical skin preparations utilizing Chlorhexidine Gluconate/Hibiclens/
Chloraprep. Surg. Neurol Int. 2021 Jul. 6 ;12:335. doi: 10.25259/SNI_566_2021.

วันที่ตอบ : 09 ม.ค. 66 - 10:45:58




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110