ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
กลไกการแพ้ Contrast Media

อยากทราบว่ากลไกการแพ้ Contrast media เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และต้องซักประวัติการแพ้อาหารทะเลในผู้ป่วยทุกรายหรือไม่

[รหัสคำถาม : 464] วันที่รับคำถาม : 10 ก.พ. 66 - 10:50:12 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การแพ้สารทึบรังสีเป็นอาการที่พบได้หลังได้รับสารทึบรังสี โดยอาจจะพบอาการผื่น คลื่นไส้อาเจียน บวม หายใจลำบาก หมดสติ ในช่วงเวลาตั้งแต่ 30 นาที ถึง 1 สัปดาห์หลังได้รับสารทึบรังสี ซึ่งจะพบได้จากการใช้สารทึบรังสีชนิด iodinated contrast agents ซึ่งเป็นสารทึบรังสีชนิดที่มีสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบในโมเลกุล นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจจะส่งเสริมการแพ้สารทึบรังสี ได้แก่ ขนาด ความซับซ้อนของโมเลกุล และคุณสมบัติด้าน osmolality ของสารทึบรังสี ประวัติโรคหอบหืด ประวัติการแพ้อาหารทะเล เป็นต้น[1,2,3,4] กลไกของการแพ้สารทึบรังสียังไม่แน่ชัดแต่คาดว่าสารทึบรังสีกระตุ้นให้มีการปล่อย histamine และ mediators ต่าง ๆ จาก basophils และ eosinophils ส่งผลให้เกิด adverse allergic-like reactions ได้[1] ส่วนผู้ที่มีประวัติการแพ้อาหารทะเลส่วนใหญ่มักแพ้โปรตีนในเนื้อกุ้งหรือปลา เช่น parvalbumin และ tropomyosin ทำให้มีการตอบสนองของ IgE ที่สัมพันธ์กับอาการแพ้ เช่น ลมพิษ อาเจียน หายใจมีเสียงหวีด บวม ความดันเลือดต่ำ เป็นต้น[5,6] ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และตอบสนองกับโมเลกุลแปลกปลอมของโปรตีน และมักจะไม่ตอบสนองต่อโมเลกุลขนาดเล็กหรือแร่ธาตุ ดังนั้น จึงยังไม่พบหลักฐานยืนยันถึงการตอบสนองต่อไอโอดีนในโมเลกุลของสารทึบรังสี

รายงานการเกิดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สารทึบรังสีของ Kaufman E และคณะ[7] พบอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สารทึบรังสีในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลลินและผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ร้อยละ 7.5 และ 10.2 ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างของโอกาสเกิดการแพ้สารทึบรังสีในผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลประเภทกุ้ง ปลาหรือหอย ดังนั้น จึงควรซักประวัติการแพ้ยาโดยเฉพาะยากลุ่มเพนนิซิลลิน รวมถึงประวัติโรคภูมิแพ้หรือแพ้อาหารทะเลในผู้ป่วยที่ต้องได้รับสารทึบรังสี และควรเลือกใช้สารทึบรังสีชนิดที่ไม่มีไอโอดีนและ osmolarity ต่ำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้สูง[2] นอกจากนี้ การใช้ยาป้องกันการแพ้สามารถลดโอกาสการแพ้สารทึบรังสีได้ เช่น ยา methylprednisolone ขนาด 32 mg รับประทานก่อนได้รับสารทึบรังสี 12 และ 2 ชั่วโมง หรือยา prednisolone ขนาด 250 mg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำก่อนได้รับสารทึบรังสี[8] ส่วนการรักษาอาการแพ้ที่เกิดจากการใช้สารทึบรังสี สามารถใช้ยาต้านฮีสตามีนชนิดรับประทาน (oral H1-antihistamine) ในกรณีที่อาการแพ้ชนิดไม่รุนแรง ในกรณีที่มีอาการแพ้ชนิดรุนแรงถึงชีวิต จะต้องใช้ยา epinephrine แบบฉีดเข้ากล้ามบริเวณต้นขาด้านข้าง ขนาด 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว สูงสุดไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ร่วมกับยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ในกรณีที่จำเป็น[9]

เอกสารอ้างอิง :
[1]. American College of Radiology (ACR). ACR Manual on Contrast Media 2023. Available from: https://www.acr.org/-/media/ACR/Files/Clinical-Resources/Contrast_Media.pdf. Accessed Nov, 20, 2023.
[2]. Schabelman E, Witting M. The relationship of radiocontrast, iodine, and seafood allergies: a medical myth exposed. J Emerg Med 2010 Nov;39(5):[701-7]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20045605/. Accessed Nov,26,2023.
[3]. Pradubpongsa P, Dhana N, Jongjarearnprasert K, Janpanich S, Thongngarm T. Adverse reactions to iodinated contrast media: prevalence, risk factors and outcome-the results of a 3-year period. Asian Pac J Allergy Immunol. 2013 Dec;31(4):[299-306]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24383973/. Accessed Nov,26,2023.
[4]. Contrast Agent, Iodinated, Allergy/Hypersensitivity. In: Drug Allergy and Idiosyncratic Reactions [database on the Internet]. Hudson(OH): Lexicomp Inc.[updated 4 Dec. 2022; cited 19 Nov. 2023]. Available from: https://online.lexi.com.]
[5]. Allergen Specific IgE Antibody, Seafood, Serum. In: Lab Tests and Diagnostic Procedures [database on the Internet]. Hudson(OH): Lexicomp Inc.[updated 28 Mar. 2022; cited 19 Nov. 2023]. Available from: https://online.lexi.com.]
[6]. Leung, N.Y.H., Wai, C.Y.Y., Shu, S. et al. Current Immunological and Molecular Biological Perspectives on Seafood Allergy: A Comprehensive Review. Clinic Rev Allerg Immunol 2014 Jun;46(3):[180-97]. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s12016-012-8336-9#citeas. Accessed Nov,26,2023.
[7]. Kaufman E, Lagu T, Hannon NS, Sagi J, Rothberg MB. Mythmaking in medical education and medical practice. Eur J Intern Med 2013 Apr;24(3):[222-6]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23312964/. Accessed Nov,26,2023.
[8]. Tramèr MR, von Elm E, Loubeyre P, Hauser C. Pharmacological prevention of serious anaphylactic reactions due to iodinated contrast media: systematic review. BMJ. 2006 Sep 30;333(7570):[675]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16880193/. Accessed Nov,26,2023.
[9]. Chiu TM, Chu SY. Hypersensitivity Reactions to Iodinated Contrast Media. Biomedicines. 2022 Apr 30;10(5):[1036]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35625773/. Accessed Nov,26,2023.

วันที่ตอบ : 15 ม.ค. 67 - 14:14:05




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110