ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
กรณีสตรีตัดรังไข่และมดลูกแล้ว รับประทานยา conjugated estrogen 0.625 mg (ESTROMON

กรณีสตรีตัดรังไข่และมดลูกแล้ว รับประทานยา conjugated estrogen 0.625 mg (ESTROMON®) แล้วมีอาการแพ้ จะเปลี่ยนมารับประทาน Cyclo-progynova® แทนได้ไหมครับ

[รหัสคำถาม : 47] วันที่รับคำถาม : 25 ม.ค. 63 - 14:03:55 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

รังไข่ทำหน้าที่ในการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศ เช่น estrogen, progesterone โดยเกี่ยวข้องกับการสร้างและหลั่ง estrogen เป็นหลัก การผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง ทำให้ขาดฮอร์โมน estrogen และ progesterone โดยการขาด estrogen จะสัมพันธ์กับอาการที่เกิดขึ้นมากกว่า progesterone เช่น vasomotor symptoms ซึ่งหมายถึง กลุ่มอาการที่มีความรู้สึกร้อนบริเวณผิวหนัง คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ ใจสั่น เหงื่อออกท่วมตัว เหงื่อออกตอนกลางคืน และนอนไม่หลับ[2] การรักษาจึงเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทน สำหรับสตรีที่ตัดมดลูกแล้วมักให้การรักษาด้วย estrogen โดยไม่ให้ progestogen ร่วมด้วยเพื่อป้องกัน estrogen induce endometrial neoplasia และ adenocarcinoma [3] การให้ estrogen ในกรณีนี้มี 2 วิธีคือ
1.การให้ฮอร์โมน estrogen แบบต่อเนื่อง (continuous estrogen) โดยการรับประทานยาทุกวัน
2.การให้ฮอร์โมน estrogen เป็นรอบๆ (cyclic estrogen) โดยให้ estrogen เดือนละ 25 วัน หรือให้ estrogen 21 วัน สลับกับระยะเว้นยา 7 วัน ซึ่ง estrogen ที่ใช้ในประเทศไทยเพื่อเป็นฮอร์โมนทดแทน ได้แก่ Conjugated equine estrogen (เช่น Premarin®) ขนาด 0.3, 0.625, 1.25 mg/เม็ด, Micronized 17-β-estradiol (เช่น Estrofem®) ขนาด 1, 2 mg/เม็ด, Estradiol valerate (เช่น Progynova®) ขนาด 1, 2 mg/เม็ด[4] โดยระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และลักษณะอาการในผู้ป่วยแต่ละราย แต่ในบางกรณีอาจพิจารณาให้ estrogen ร่วมกับ progestogen ได้ในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว[6] ดังนี้
1. สำหรับสตรีที่มีประวัติ endometriosis และกรณี hydronephrosis secondary นำไปสู่การเกิด ureteral obstruction ซึ่งมีสาเหตุมาจาก endometriosis (with atypia) หรือในผู้ที่ได้รับ estrogen เพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลาหลายปี หลังจากได้รับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ทั้งสองข้างเพื่อรักษา endometriosis[6]
2. ผู้ที่ยังคงมีเยื่อบุโพรงมดลูกหลงเหลืออยู่ เช่น supracervical hysterectomy[6]
3. ผู้ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกชนิด adenocarcinoma ที่ได้รับ estrogen อย่างเดียวแล้วอาจกระตุ้นให้โรคกลับเป็นซ้ำสามารถได้รับ estrogen ร่วมกับ progestogen ได้ทันทีหลังได้รับการผ่าตัด[6]
4. ในรายที่เป็นมะเร็งรังไข่ชนิด endometrioid[6]
สำหรับกรณีสตรีตัดรังไข่และมดลูกแล้ว รับประทานยา conjugated estrogen 0.625 mg (ESTROMON®) แล้วมีอาการแพ้ จะเปลี่ยนมารับประทาน Cyclo-progynova® (Estradiol valerate 2 mg ในเม็ดสีขาวที่ 1-11 และ Estradiol valerate 2 mg และ Norgestrel 0.5 mg ในเม็ดสีน้ำตาลที่ 12-21[1] ) แทนได้ไหม ซึ่ง estrogen สามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคัดเต้านมและหัวนม ปวดศีรษะ ตกขาวมากขึ้น มีรอบระดูหรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ระดับ triglyceride ในเลือดสูง[5] และสามารถทำให้เกิดอาการแพ้จาก estrogen ได้ เช่น dermatitis, urticaria, angioedema[5]
Cyclo-progynova® ซึ่งประกอบไปด้วย Estradiol valerate 2 mg ในเม็ดสีขาวที่ 1-11 โดย Estradiol valerate จัดเป็นฮอร์โมน estrogen สังเคราะห์ และ เม็ดสีน้ำตาลที่ 12-21 ประกอบไปด้วย Estradiol valerate 2 mg และ Norgestrel 0.5 mg ซึ่ง Norgestrel จัดเป็นฮอร์โมน progestrogen[1] Cyclo-progynova® จึงเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทนร่วมกันของ estrogen และ progestrogen ซึ่งการให้ฮอร์โมนทดแทนรูปแบบนี้ใช้ในสตรีที่ตัดมดลูกแล้วในหลายกรณี ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติเป็น endometriosis ผู้ที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกหลงเหลืออยู่ ผู้ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกชนิด adenocarcinoma หรือผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ชนิด endometrioid ในสตรีที่ตัดรังไข่และมดลูกรับประทานยา conjugated estrogen 0.625 mg (ESTROMON®) แล้วมีอาการแพ้ พบว่ายังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าสามารถใช้ Cyclo-progynova® แทนได้ เนื่องจากข้อมูลการแพ้ข้ามกันระหว่าง estrogen แต่ละชนิดมีอย่างจำกัด และเนื่องจาก estrogen แต่ละชนิดมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน จึงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
ได้เช่นกัน
เอกสารอ้างอิง
1. MIMS Online Thailand. Cyclo progynova [Internet]. 2017. Available from: http://www.mims.com/thailand/drug/info/Cyclo progynova
2. The 2017 hormone therapy position statement of The North American Menopause
Society. Menopause. 2018; 25(11):1362-1387.
3. Haney AF, Wild RA. Options for hormone therapy in women who have had a
hysterectomy. Menopause. 2007; 14(3 Pt 2):592-7.
4. นิมิต เตชไกรชนะ, คุณหญิงกอบจิตต์ ลิมปพยอม.การใช้ฮอร์โมนทดแทนในเวชปฏิบัติ. ใน :
นิมิต เตชไกรชนะ, บรรณาธิการ. ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู. กรุงเทพฯ : บียอนท์
เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2543: 452-455.
5. นิมิต เตชไกรชนะ, คุณหญิงกอบจิตต์ ลิมปพยอม.เอสโตรเจนในฮอร์โมนทดแทน. ใน :
นิมิต เตชไกรชนะ, บรรณาธิการ. ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู. กรุงเทพฯ: บียอนท์
เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2543: 452-455.
6. Speroff L, Glass RH, Kase NG. Clinical gynecologic endocrinology and infertility.
8th ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins, 2011:762.

วันที่ตอบ : 25 ม.ค. 63 - 14:09:53




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110