ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาฆ่าเชื้อราที่เหมาะสมที่สุดคือชนิดใด

ผู้ป่วยเป็นเชื้อราในช่องปาก และใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก อยากทราบว่า ยาฆ่าเชื้อราที่เหมาะสมที่สุดคือชนิดใด และควรบริหารยาในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด

[รหัสคำถาม : 489] วันที่รับคำถาม : 28 มี.ค. 66 - 14:27:54 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

จากแนวทางการรักษาเชื้อราในช่องปาก
-กรณีคนไข้เป็นผู้ใหญ่(1,2) clotrimazole troches (ยาอม) 10 mg ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน, Nystatin suspension (ยาน้ำแขวนตะกอน)(100,000 U/mL) ครั้งละ 4–6 mL โดยให้กลั้วให้นานที่สุดจากนั้นค่อยกลืน วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน
-กรณีคนไข้เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน(3) Nystatin Oral suspension (100,000 units/ml) โดยจะให้ 0.5 ml ต่อข้างของทั้งสองฝั่งในปาก 4 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 5-10 วัน, Oral miconazole gel โดย Oral miconazole gel จะมี Cure rate ที่ดีกว่า Nystatin Oral suspension (>90% VS 29-85%) แต่ Oral miconazole gel จะสามารถถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้และจะเกิด GI side effect ตามมาต่างจาก Nystatin Oral suspension ที่ไม่ถูกดูดซึม
-กรณีคนไข้เป็นเด็กอายุ 1-11 เดือน(4) Nystatin suspension 200,000 units (100,000 units ต่อกระพุงแก้มแต่ละข้าง) วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน
-กรณีคนไข้เป็นเด็กอายุมากกว่า 12 เดือน(4) Nystatin suspension 400,000-600,000 units วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน โดยในกลั้วให้นานที่สุด แล้วจึงกลืน , Clotrimazole lozenge 10 mg (1 เม็ด) วันละ 5-6 ครั้ง เป็นเวลา 7-14 วัน โดย Nystatin lozenge และ Clotrimazole lozenge ไม่แนะนำในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ขวบ เนื่องจากอาจจะเกิดการสำลักได้
….
ประสิทธิภาพของยาแต่ละชนิดในการรักษาเชื้อราในช่องปาก
จากการศึกษาของ Fang J et al พบว่า Fluconazole มีประสิทธิภาพในการลด mycological cure rate ได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบ Oral Fluconazole และ Clotrimazole troches พบว่า Oral Fluconazole มีประสิทธิภาพดีกว่า (mycological OR = 1.22, 95%CI: 0.87–1.72) และเมื่อเปรียบเทียบ Nystatin และ Oral Fluconazole พบว่า Nystatin มีประสิทธิภาพด้อยกว่า Fluconazole (mycological OR = 0.53, 95%CI: 0.31–0.88) อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบ Nystatin และ Miconazole Oral Gel พบว่าการใช้ Nystatin มีประสิทธิภาพน้อยกว่า Miconazole Oral Gel (mycological OR = 0.35, 95%CI: 0.17-0.74)(7)
-กรณีที่ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก แล้วจำเป็นต้องใส่ท่อ Enteral feeding ทำให้ไม่สามารถใช้ยาที่เป็น Topical agent(clotrimazole troches, nystatin suspension)(1,2) ได้เนื่องจากเสี่ยงต่อการสำลัก จึงจำเป็นที่ต้องให้ยา oral Fluconazole แทน(2) โดยวิธีการให้มีดังนี้(6)
1. Flush Enteral feeding tube ด้วยน้ำ
2. เขย่าขวดยาหากเป็น Suspension แต่ถ้าหากเป็น Capsule ให้แกะ Capsule ออก
3. ดึงยาในปริมาณที่ต้องการด้วย Syringe หากเป็น suspension
4. Flush ยาใน Enteral feeding tube
5. Flush ด้วยน้ำตามลงไป

เอกสารอ้างอิง
[1]. Peter G. Pappas, Carol A. Kauffman, David R. Andes, Cornelius J. Clancy, Kieren A. Marr, Luis Ostrosky-Zeichner, Annette C. Reboli, Mindy G. Schuster, Jose A. Vazquez, Thomas J. Walsh, Theoklis E. Zaoutis, Jack D. Sobel, Clinical Practice Guideline for the Management of Candidiasis: 2016 Update by the Infectious Diseases Society of America, Clinical Infectious Diseases, Volume 62, Issue 4, 15 February 2016, Pages e1–e50.
[2]. Carol A Kauffman, MD. Oropharyngeal candidiasis in adults.(2022). In: UpToDate. (Accessed on November 21, 2022).
[3]. Mohan Pammi,MD ,PhD. Treatment of Candida infection in neonates(2022). In: UpToDate. (Accessed on November 23, 2022).
[4]. Judith R Campbell,MD,Debra L Palazzi,MD,Med. Candida infections in Children(2022). In: UpToDate. (Accessed on November 23, 2022).
[5]. Robert C Hyzy,MD,Jakob I McSparron,MD. Tracheostomy : Rationale ,indications ,and contraindications(2022). In: UpToDate. (Accessed on November 23, 2022).
[6]. Rebecca White , Vicky Bradnam. Handbook of Drug Administration via Enteral Feeding Tubes 2007. British Pharmaceutical Nutrtion Group.
[7]. Fang J, Huang B, Ding Z. Efficacy of antifungal drugs in the treatment of oral candidiasis: A Bayesian network meta-analysis. J. Prosthet Dent. 2021 Feb;125(2):257-265.

วันที่ตอบ : 28 มี.ค. 66 - 15:20:58




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110