ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การดูแลผู้ป่วย

อยากทราบเรื่องการใช้ยาแก้ปวดในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มีอาการปวดรุนแรงที่ใช้ยาพารา
เซตามอลแล้วไม่ดีขึ้น มีแนวทางการใช้ยาเพื่อลดอาการปวดในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรบ้างและสามารถใช้ยา montelukast ในการป้องกันการเกิดหอบหืดเฉียบพลันเมื่อใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDsได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 491] วันที่รับคำถาม : 28 มี.ค. 66 - 14:37:53 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ใช้ยาพาราเซตามอลในการบรรเทาอาการปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น จาก Global Strategy for Asthma Management and Prevention 2022 update ยาที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอาจทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ได้แก่ Aspirin และ NSAIDs สามารถเป็นสาเหตุทำให้อาการกำเริบอย่างรุนแรงได้[3,4] ยาในกลุ่ม NSAIDs ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ prostaglandins ในร่างกาย เอนไซม์ COX แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ COXI และ COXII หน้าที่ของ COXI ในร่างกาย เช่น สังเคราะห์ prostaglandin E2 (PGE2) ซึ่งมีฤทธิ์ bronchodailation ส่วน COXII ทำหน้าที่สังเคราะห์ Prostaglandin D2 (PGD2) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิด bronchoconstriction[5] เมื่อเอนไซม์ COX ถูกยับยั้ง จะทำให้ arachidonic acid ถูกเปลี่ยนไปเป็นสารกลุ่ม leukotrienes มากขึ้น โดยผ่านการทำงานของเอนไซม์ lipoxygenase เช่น cysteinyl leukotrienes (cysLTs), LTC4, LTD4, และ LTE4 ซึ่ง leukotrienes เหล่านี้จะถูกสร้างจาก eosinophil และ mast cell ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในทางเดินหายใจที่มีการอักเสบ สารกลุ่ม leukotrienes มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการตีบตัวของหลอดลม การหลั่ง mucus การบวมของเยื่อบุโพรงจมูกและทางเดินหายใจ[6] ดังนั้น ยากลุ่ม non-selective COX inhibitors จึงอาจทำให้เกิด asthma exacerbation ได้ ส่วนยากลุ่ม COXII inhibitor ซึ่งยับยั้งการสังเคราะห์ PGD2 ทำให้เกิดการตีบของหลอดลมได้น้อยกว่า ดังนั้น การใช้ยา NSAIDs ในกลุ่ม COXII inhibitor จึงทำให้เกิด asthma exacerbation ได้น้อยกว่ายากลุ่ม non-selective COX inhibitors[5,6] และจาก GINA guideline ปี 2020 แนะนำว่า หากจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีประวัติเกิด exacerbation หลังจากได้รับยากลุ่ม NSAIDs ควรเลือกใช้กลุ่ม selective COXII inhibitors (เช่น celecoxib, etoricoxib) และควรติดตามอาการ 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา[4]
ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ยา Anti-LT ในการรักษาผู้ป่วย AIA มียา Anti LT อยู่ 2 ประเภท คือ ยายับยั้ง 5-LOX (zileuton) และยาในกลุ่ม specific cysteinyl LT receptor antagonist (zafirlukast, montelukast และ pranlukast) พบว่ายาที่ปรับเปลี่ยน LT ช่วยลดปฏิกิริยาของหลอดลมที่เกิดจากแอสไพรินในผู้ป่วย AIA[2] เนื่องจากกลไกการออกฤทธิ์ของ Montelukast คือ leukotrienes receptor antagonist ซึ่งใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษาโรคหอบหืด Leukotrienes (LT) ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว[10] Montelukast ที่จับอย่างจำเพาะกับ CysLT1 receptor ซึ่งเป็นผลให้ช่วยในการยับยั้งการทำงานของ CysLTs เช่น LTC4,LTD4,LTE4 ซึ่งการใช้ Montelukast จะกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลมเกิดการอักเสบลดลง[11]และจากการศึกษา prospective ในอาสาสมัครที่ทำการศึกษาได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ป่วย AIA (Aspirin intolerant asthma) ที่ได้รับการติดตามอย่างสม่ำเสมอที่คลินิกผู้ป่วยนอกของมหาวิทยาลัย Soonchunhyang University Bucheon และโรงพยาบาลโซล ประเทศเกาหลีโดยสรุป ความสามารถของการรักษาด้วย MLK เป็นเวลา 12 สัปดาห์เพื่อป้องกันการหดเกร็งของหลอดลมที่เกิดจากแอสไพรินได้รับการประเมินในผู้ป่วยผู้ใหญ่ 46 รายที่มี AIA ผลการป้องกันถือว่าได้ผลดีโดยดูจากค่า FEV1 ที่เพิ่มขึ้น[13]แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาทางคลินิกมาสนับสนุนว่า MLK สามารถต้านฤทธิ์ NSAIDs ได้อย่างแท้จริงและหากมีความจำเป็นต้องใช้ยา MLK ร่วมกับยาในกลุ่ม NSAIDs ควรใช้ยาอย่างระมัดระวังและควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เอกสารอ้างอิง
[1]. พรทวี เลิศศรีสถิต,สุชีลา จัทร์วิทยานุชิต. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs).Available from :
https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/NSAIDS.pdf. Access on Nov. 20, 2022.
[2]. K. Suresh Babu, MD, DNB; and Sundeep S. Salvi, MD, DNB,PhD,From the Department of Respiratory Cell and Molecular Biology, University of Southampton, Southampton General Hospital, Southampton, UK. Aspirin and Asthma. Available from : https://www.medscape.com/viewarticle/405963. Access on Nov. 16, 2022.
[3]. Jenkins C. Recommending analgesics for people with asthma. Am J Ther. 2000 Mar;7(2):55-61. doi: 10.1097/00045391-200007020-00003. PMID: 11319574.
[4]. Global strategy for asthma management and prevention uptodate 2022. Available from : https://ginasthma.org/wp-content/uploads/2022/07/GINA-Main-Report-2022-FINAL-22-07-01-WMS.pdf. Access on Nov. 17, 2022.
[5]. Seong-Dae Woo, Quoc Quang Luu, Hae-Sim Park, NSAID-Exacerbated Respiratory Disease (NERD): From Pathogenesis to Improved Care, Frontiers in Pharmacology, 10.3389/fphar.2020.01147, 11, (2020). Available from : https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fphar.2020.01147/full. Access on Nov. 17, 2022.
[6]. Tanya ML, Elliot I. Aspirin-exacerbated respiratory disease [Internet]. 2020 [cited 2022 Nov 24]. Available from: http://www.uptodate.com
[7]. Heidi Andersén , Pinja Ilmarinen , Jasmin Honkamäki , Leena E. Tuomisto , Hanna Hisinger-Mölkänen , Helena Backman , Bo Lundbäck , Eva Rönmark , Tari Haahtela , Anssi Sovijärvi , Lauri Lehtimäki , Päivi Piirilä , Hannu Kankaanranta.NSAID-exacerbated respiratory disease: a population study.Available from :https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35083326/
[8]. Pei-Chia Lo, MDa, Yueh-Ting Tsai, MD, PhDa, Shun-Ku Lin, MDb, Jung-Nien Lai, MD, PhDa, Risk of asthma exacerbation associated with nonsteroidal anti-inflammatory drugs in childhood asthma. A nationwide population-based cohort study in Taiwan.Available from : https://journals.lww.com/md-journal/fulltext/2016/10110/risk_of_asthma_exacerbation_associated_with.32.aspx.
[9]. Anthony J. Trevor, Bertram G. Katzung, Marieke M. Kruidering-Hall, Susan B. Masters.Katzung & Trevor's Pharmacology: Examination & Board Review, 10e Chapter 20. Drugs Used in Asthma & Chronic Obstructive Pulmonary Disease .Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=514§ionid=41817534.
[10]. Yong Ju Lee, MD, Chang-Keun Kim, MD. Montelukast use over the past20 years:monitoring of its effects and safety issues.Clinical and Experimental Pediatrics 200;63(10):376-381.Published online : February 5,2020 DOI: https://doi.org/10.3345/cep.2019.00325
[11]. Merck & CO.,INC.Whitehouse Station,NJ 08889,USA.SINGULAIR (Montelukast sodium) Tablets,Chewable tabless,and oral granules Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2009/020829s051_020830s052_021409s028lbl.pdf.
[12]. Kam Lun ellis Hon1 Ting Fan Leung1 Alexander KC Leung2 Clinical effectiveness and safety of montelukast in asthma. what are the conclusions from clinical trials and meta-analyses? Availabile from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4079631/
[13]. Jong Sook Park, An Soo Jang,Sung Woo Park,Young Mok Lee,Soo Taek Uh,Yong Hoon Kim, Ji Yean Cha,Se Min Park,
Choon-Sik Park. Protection of leukotriene receptor antagonist against aspirin- induced bronchospasm in asthmatics. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2831603/pdf/aair-2-48.pdf.

วันที่ตอบ : 29 มี.ค. 66 - 09:02:33




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110