ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาระบาย

อยากทราบแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่มีภาวะติดยาระบาย และอยากทราบแนวทางการจัดการในกลุ่มผู้ป่วยต่อไปนี้
1) หากผู้ป่วยใช้ยา glycerine ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะมีผลข้างเคียงหรือไม่
2) ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ สามารถใช้ sodium chloride enema ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ และ
3) มีแนวทางการรักษาในผู้ป่วยที่ติดยาระบายมะขามแขกอย่างไรบ้าง

[รหัสคำถาม : 494] วันที่รับคำถาม : 28 มี.ค. 66 - 15:39:00 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

1) แนวทางการรักษาและการจัดการอาการท้องผูกเรื้อรังในผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
Exclude defecation disorder ถ้ามีภาวะนี้ให้ส่งต่อแพทย์ แต่ถ้าไม่มีภาวะนี้ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงร่วมกับดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ถ่ายอุจจาระให้เป็นกิจวัตร และปรับท่านั่งในการขับถ่ายโดยการใช้อุปกรณ์รองใต้เท้า ในขณะนั่งบนโถส้วมชักโครกเพื่อยกเข่าให้สูงขึ้นและงอข้อสะโพกมากขึ้นให้คล้ายกับท่าประเภทนั่งยอง (squatting) จะทำให้รู้สึกขับถ่ายได้สุด (bowel emptiness) มากขึ้นและใช้แรงในการเบ่งขับถ่ายน้อยลง ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่ตอบสนองให้ใช้ Bisacodyl tablets 5-15 mg/d หรือ Senna tablets 15 mg/d ถ้ายังไม่ตอบสนอง ให้ดูว่าผู้ป่วยกำลังได้รับ opioids อยู่หรือไม่ ถ้าใช้ opioids อยู่ จะให้ Methylnaltrexone sc ถ้าไม่ได้ใช้ opioids จะให้ Lubiprostone capsule 24 mcg BID หรือ Refer แพทย์เฉพาะทาง [1,2,3]
2) แนวทางการรักษาและการจัดการอาการท้องผูกในผู้ที่ติด/ดื้อยาระบาย
กลไกการดื้อยาระบาย คือลำไส้ไม่ทำงาน (atonic nonfunctioning colon) [4] พบได้ในยาระบายมะขามแขก (Senna) และ bisacodyl ควรใช้ในขนาดยาที่ต่ำที่สุดที่ยังมีประสิทธิภาพในการรักษา ให้ใช้ในระยะสั้น แนะนำว่าไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 10 วัน [5]
- เมื่อใช้ Bulk laxative ไม่ได้ผล ให้ใช้ Osmotic laxative
- เมื่อใช้ Osmotic laxative ไม่ได้ผล ให้ใช้ Stimulant laxative หรือ Lubiprostone
- เมื่อใช้ Osmotic laxative และ Stimulant laxative ไม่ได้ผล ให้ใช้ Methylnaltrexone
- เมื่อใช้ Laxative กลุ่มอื่นไม่ได้ผลหรือทนผลข้างเคียงไม่ได้ ให้ใช้ Lubiprostone [6,7]
Glycerin ใช้เหน็บทวารหนักเพื่อรักษาอาการท้องผูก ใช้ 1x1 ขนาดยาแต่ละแท่งของเด็กและผู้ใหญ่ต่างกัน ผลข้างเคียงคือ ปวดท้องตะคริว ท้องเสีย แสบร้อน ระคายเคืองบริเวณทวารหนัก ไม่พบการศึกษาที่ใช้ glycerin เป็นระยะเวลานาน แต่มีข้อแนะนำคือ อาการที่ควรพบแพทย์ทันที เช่น มีเลือดออกทางทวารหนัก อีกทั้งยังแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาถ้ามีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาหรือมีการใช้ยาระบายมานานกว่า 1 สัปดาห์ [8]
Sodium chloride enema ใช้สวนทวารหนักเพื่อรักษาอาการท้องผูก ไม่พบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจโดยตรง จึงนำไปเปรียบเทียบกับ sodium phosphate enema ซึ่งจะทำให้เกิด hypernatremia มีข้อควรระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง มีข้อห้ามใช้ในรูปแบบ enema ในผู้ที่มีภาวะ heart failure [3,9] จึงแนะนำให้ใช้ยาระบายกลุ่ม Stimulant laxatives เช่น Bisacodyl, Senna แทน [10]

เอกสารอ้างอิง
[1]. Mounsey A, Raleigh M, Wilson A. Management of Constipation in Older Adults. Am Fam Physician. 2015 Sep. 15;92(6):500-4. PMID: 26371734.
[2]. National Drug Information. ข้อมูลยา/ผลิตภัณฑ์สมุนไพร. กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา. Available at: http://ndi.fda.moph.go.th/drug_info. Accessed on: Nov. 28, 2022.
[3]. สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย). Thailand Chronic Constipation Guideline 2021 (แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยท้องผูกเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2564).
[4]. Hall J. Atonic Colon. Medical Clinics of North America, 2008. Available at: https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/atonic-colon. Accessed on Nov. 28, 2022.
[5]. Sharkey K, MacNaughton W. Goodman & Gilman's: The Pharmacological Basis of Therapeutics, 14th edition. Chapter 54: Gastrointestinal Motility and Water Flux, Emesis, and Biliary and Pancreatic Disease.
[6]. Papadakis M, McPhee S, Rabow M, McQuaid K. Current Medical Diagnosis & Treatment 2023. Part 15: Gastrointestinal Disorders.
[7]. Rao S. Constipation in the older adult. In: UpToDate, Post TW (Ed), UpToDate, Waltham, MA. Accessed on Nov. 22, 2022.
[8]. Glycerin suppository. In Specific Lexicomp Online Database [database on internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: 2022. Accessed on Nov. 22, 2022.
[9]. Sodium phosphate. In Specific Lexicomp Online Database [database on internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: 2022. Accessed on Nov. 22, 2022.
[10]. Ishiyama Y, Hoshide S, Mizuno H, Kario K. Constipation-induced pressor effects as triggers for cardiovascular events. J. Clin. Hxypertens (Greenwich). 2019 Mar.; 21(3):421-425. doi: 10.1111/jch.13489. Epub 2019 Feb. 13. PMID: 30761728; PMCID: PMC8030287.
วันที่ตอบ : 28 มี.ค. 66 - 21:35:44




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110