ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
albendazole ทานไม่ครบได้หรือไม่

ผู้ป่วยได้รับยา albendazole 200mg ทาน 2x2 เป็นเวลา 3 วัน รวม 6 dose -- ทานจนถึง dose ที่ 3 เกิดอาการเวียน ศีรษะ บ้านหมุน อาเจียน ไม่มีปัจจัยอื่นๆที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ แบบนี้เป็นผลข้างเคียงของตัวยาได้ไหมครับ สามารถหยุดยาได้หรือไม่ครับ หากหยุดทานยาจะมีผลอะไรไหมครับ

[รหัสคำถาม : 526] วันที่รับคำถาม : 10 ก.ค. 66 - 09:57:22 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยา albendazole เป็นยาถ่ายพยาธิในกลุ่ม benzimidazoles สามารถใช้รักษาหนอนพยาธิได้หลายชนิด ขึ้นอยู่กับขนาดยาและระยะเวลาที่ใช้ ได้แก่ พยาธิตัวตืด (กินครั้งละ 400 มก. วันละ 1 ครั้ง นาน 3 วัน) พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ และพยาธิเข็มหมุด (กิน 400 มก. ครั้งเดียว) พยาธิใบไม้ในตับ (กินครั้งละ 10 มก./กก./วัน วันละ 1 ครั้ง นาน 7 วัน) และพยาธิตัวจี๊ด (กินครั้งละ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 21 วัน) [1,2]
...
จากการศึกษาโดย Steinmann และคณะ เพื่อประเมินประสิทธิภาพจากการใช้ยา albendazole ในผู้ป่วยชาวจีน 150 คน พบว่า การใช้ยา albendazole 400 มก. วันละ 1 ครั้ง นาน 3 วัน มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนพยาธิ ได้แก่ พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า และพยาธิตัวตืด ได้ร้อยละ 96.8, 92.0, 56.2 และ 100 ตามลำดับโดยเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา 6 คน ได้แก่ ปวดท้อง ปวดเอว อาเจียน อ่อนเพลีย บ้านหมุน และเจ็บคอ อย่างละ 1 คน [3]
...
ซึ่งผลข้างเคียงจากยา albendazole ที่พบทั่วไป ได้แก่ ปวดหัว (ร้อยละ 11) ปวดท้อง (ร้อยละ 6) คลื่นไส้ อาเจียน (ร้อยละ 4-6) เวียนศีรษะ บ้านหมุน (ร้อยละ 1) ผมร่วง (ร้อยละ 1-2) [1] ผลข้างเคียงอาจเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับยาในขนาดที่สูงขึ้น จากงานวิจัยโดย Zoleko-Manego และคณะ ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา albendazole ขนาด 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 3-5 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคหนอนพยาธิ Microfilaraemic loiasis จำนวน 24 คน พบว่า เกิดอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ/บ้านหมุน อ่อนเพลีย และผื่นคัน คิดเป็นร้อยละ 16.7, 12.5, 12.5 และ 16.7 ตามลำดับ [4]
...
ดังนั้น อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนและคลื่นไส้ของผู้ป่วย อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา albendazole ได้ อย่างไรก็ตาม ควรซักประวัติเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และคลื่นไส้ เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น ยาที่ใช้ร่วมในปัจจุบัน โรคประจำตัว ความเครียด หรือการกินอาหารที่มีไขมันสูงระหว่างใช้ยา เนื่องจากสามารถเพิ่มการดูดซึมของยาในระบบทางเดินอาหารได้มากขึ้น แต่หากคาดว่าอาการข้างต้นเป็นผลมาจากยา albendazole อาการควรดีขึ้นหลังจากหยุดกินยาไปแล้วประมาณ 2-3 วัน ในกรณีที่จำเป็นในการใช้ยาต่อ ควรพิจารณาจากความเสี่ยงในการติดเชื้อหนอนพยาธิที่ต้องใช้ยา albendazole ขนาดสูง เช่น พยาธิตัวจี๊ด [1] หรือ M. loiasis [4] เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
[1]. Albendazole. In: Specific Lexicomp Online Database [database on the internet]. Hudson(OH): Lexicomp Inc. [updated 14 Nov. 2023; cited 14 Nov. 2023]. Available from: https://online.lexi.com.
[2]. Antiparasitic Therapy. In: ClinicalKey [database on the internet]. Elsevier B.V.: ClinicalKey Inc.: 2023 [updated 14 Nov. 2023; cited 14 Nov. 2023]. Available from: https://www.clinicalkey.com.
[3]. Steinmann P, Utzinger J, Du ZW, Jiang JY, Chen JX, Hattendorf J, et al. Efficacy of single-dose and triple-dose albendazole and mebendazole against soil-transmitted helminths and Taenia spp.: a randomized controlled trial. PLoS One. 2011;6(9):e25003.
[4]. Zoleko R, Kreuzmair R, Veletzky L, Ndzebe NW, Ekoka MD, Okwu DG, et al. Efficacy, safety, and tolerability of albendazole and ivermectin based regimens for the treatment of Microfilaraemic loiasis in adult patients in Gabon: A randomized controlled assessor blinded clinical trial. PLoS Negl Trop Dis. 2023 Aug;17(8):e0011584.
[5]. Adegnika AA, Zinsou JF, Issifou S, Ateba-Ngoa U, Kassa RF, Feugap EN, et al. Randomized, controlled, assessor-blind clinical trial to assess the efficacy of single- versus repeated-dose albendazole to treat Ascaris lumbricoides, Trichuris trichiura, and hookworm infection. Antimicrob agents chemother. 2014 May;58(5):2535-2540.

วันที่ตอบ : 25 ธ.ค. 66 - 14:44:30




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110