ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาลดอาการปวดเกร็ง ปัสสาวะ และแผลในกระเพาะ ใช้ร่วมกันได้หรือไม่

Antispasmodic มีความจำเพาะต่ออาการหรือไม่

[รหัสคำถาม : 544] วันที่รับคำถาม : 27 ก.ย. 66 - 16:07:05 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ยาแก้ปวดเกร็ง (antispasmodic drug) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักดังนี้
1) ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิกหรือยาต้านฤทธิ์โคลิเนอร์จิก (antmuscarinic/anticholinergic agents) ซึ่งออกฤทธิ์ผ่าน กลไกต้านฤทธิ์มัสคารินิกหรือโคลิเนอร์จิก แต่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว มึนงง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว[1] ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ hyoscine butylbromide ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบแบบไม่จำเพาะ เช่น อาการปวดเกร็ง กล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น[2] oxybutynin และ flavoxate ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินปัสสาวะ[3]
2) ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบโดยตรง (musculotropic spasmolytics agents) ซึ่งออกฤทธิ์โดยตรง ต่อเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ phosphodiesterase มีผลให้ปิดกั้น calcium-channel ทำให้มีฤทธิ์ในการลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบโดยตรง โดยไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่านกลไกต้านฤทธิ์โคลิเนอร์จิก จึงไม่ก่อ ให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาในกลุ่มแรก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ mebeverine alverine และ pinaverium ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร[4] drotaverine ซึ่งมีข้อบ่งใช้สำหรับ ลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบจากการอักเสบในถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดี และอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินปัสสาวะ[5]

จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า flavoxate และ oxybutynin ยังไม่มีข้อมูลรายงานการศึกษาทางคลินิก เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการลดอาการปวดเกร็งจากแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ flavoxate มีข้อห้ามใช้ ในผู้ที่การอุดตันของกระเพาะอาหารส่วนปลาย หรือลำไส้เล็กส่วนต้น เลือดออกในทางเดินอาหาร ลำไส้อุดตัน และภาวะกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล้างทางเดินอาหารไม่คลายตัว ดังนั้นในกรณีที่จะใช้รักษาอาการปวดเกร็งจากแผลในกระเพาะอาหารด้วย[6] อาจเลือกใช้ hyoscine butylbromide ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหารรวมถึงในระบบทางเดินปัสสาวะ และสามารถใช้ร่วมกับยารักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ ในกรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงจากฤทธิ์ต้านมัสคารินิก หรือฤทธิ์ต้าน โคลิเนอร์จิก อาจเลือกใช้ mebeverine ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดเกร็งท้องไม่ต่างจาก hyoscine[7] กรณีที่ต้องการลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อเรียบกระเพาะอาหารเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารโดยตรง หรืออาจ เลือก drotaverine ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดเกร็งท้องจากแผลในกระเพาะอาหารและอาการปวดเกร็ง กล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินปัสสาวะ[8]

เอกสารอ้างอิง
[1]. Annaházi A, Róka R, Rosztóczy A, Wittmann T. Role of antispasmodics in the treatment of irritable bowel syndrome. World J Gastroenterol. 2014 May 28;20(20):6031-43. doi: 10.3748/wjg.v20.i20. 6031.
[2]. hyoscine. In: Lexicomp Drug information [Database on the internet] Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; [Cited 2021 Nov 13]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/ 4669046 ?cesid= 57QtiwHoi95&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3Dhyoscine%26t %3Dname %26acs%3Dfalse%26acq%3Dhyoscine
[3]. Antispasmodic Agent, Urinary. In: Lexicomp Drug information [Database on the internet] Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; [Cited 2021 Oct 17]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/search?t=pharmacatm&q=Antispasmodic%20Agent%2C%20Urinary&db=multinat_f
[4]. MIMS. Antispasmodic Agent, Urinary. 2023. Available at:https://www.mims.com/thailand/drug/search?q=Antispasmodic%20Agent%2C%20Urinary&mtype=generic. Accessed: November, 10, 2023
[5]. MIMS. Drotaverine. 2023. Available at: https://www.mims.com/thailand/drug/info/drotaverine?mtype=generic. Accessed: November, 10, 2023
[6]. Flavoxate. In: Lexicomp Drug information [Database on the internet] Hudson (OH): Lexicomp, Inc.; [Cited 2021 Oct 17]. Available from: https://online.lexi.com/lco/action/doc/retrieve/docid/multinat_f/4669403?cesid=2x96bvMyVkt&searchUrl=%2Flco%2Faction%2Fsearch%3Fq%3DFlavoxate%26t%3Dname%26acs%3Dfalse%26acq%3DFlavoxate
[7]. Martínez-Vázquez MA, Vázquez-Elizondo G, González-González JA, Gutiérrez-Udave R, Maldonado-Garza HJ, Bosques-Padilla FJ. Effect of antispasmodic agents, alone or in combination, in the treatment of Irritable Bowel Syndrome: systematic review and meta-analysis. Rev Gastroenterol Mex. 2012 Apr-Jun;77(2):82-90. doi: 10.1016/j.rgmx.2012.04.002.
[8]. Rai RR, Nijhawan S. Comparative evaluation of efficacy and safety of drotaverine versuls mebeverine in irritable bowel syndrome: A randomized double-blind controlled study. Saudi J Gastroenterol. 2021 May-Jun;27(3):136-143. doi: 10.4103/sjg.SJG_266_20.

วันที่ตอบ : 25 ธ.ค. 66 - 14:06:01




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110