ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ฺBromhexine 8 mg ใช้ในผู้ป่วยCKD ได้หรือไม่

ฺBromhexine 8 mg ใช้ในผู้ป่วยCKD stages 4 ได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 549] วันที่รับคำถาม : 15 ต.ค. 66 - 19:47:40 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 เป็นระยะที่การทำงานของไตลดลงอย่างมาก มีอัตราการกรองของไต (eGFR) ประมาณ 15-29 ml/min[1] ส่งผลให้เภสัชจลนศาสตร์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป โดยจะมีการเพิ่มขึ้นของ volume of distribution เนื่องจากมี extracellular fluid มากขึ้น และมี drug free fraction เพิ่มขึ้นจากการมี toxin ในร่างกายสูงขึ้นและมีภาวะ Hypoalbuminemia นอกจากนี้การทำงานของไตที่ลดลงยังส่งผลให้ยามี half-life นานขึ้น จากการลดลงของกระบวนการเมทาบอลิซึมและการกำจัดยา[2]
...
Bromhexine เป็นยาละลายเสมหะที่ช่วยในการขับเสมหะและบรรเทาอาการไอ
มีค่า bioavailability 22.2 ± 8.5% สำหรับยาเม็ดและ 26.8 ± 13.1% สำหรับยาน้ำ, protein binding 95%, volume of distribution ประมาณ 19 L/kg และเมตาบอลิซึมผ่านตับได้สารในกลุ่ม hydroxylate รวมถึง ambroxol ซึ่งเป็น active metabolite ขับออกทางปัสสาวะ 97.4± 1.9%
...
ขนาดยา bromhexine ที่ใช้ในการรักษาอาการไอแบบมีเสมหะสำหรับผู้ใหญ่[3] ดังนี้
- ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ,ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 4 mg 1-3 ครั้ง/วัน หรือ 8 mg 1-2 ครั้ง/วัน
- ยารับประทาน: 8-16 mg รับประทานวันละ 3 ครั้ง
...
ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลการปรับขนาดยา bromhexine ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง แต่ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีภาวะ mild to moderate renal insufficiency และหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ที่มีภาวะ severe renal insufficiency เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของ parent drug และ active metabolite (ambroxol)[4] หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
...
เอกสารอ้างอิง
[1] Rossing P, Caramori ML, Chan JC, Heerspink HJ, Hurst C, Khunti K, Liew A, Michos ED, Navaneethan SD, Olowu WA, Sadusky T. KDIGO 2022 clinical practice guideline for diabetes management in chronic kidney disease. Kidney International. 2022 Nov 1;102(5):S1-27.
[2] Blanco VE, Hernandorena CV, Scibona P, Belloso W, Musso CG. Acute Kidney Injury Pharmacokinetic Changes and Its Impact on Drug Prescription. Healthcare (Basel). 2019 Jan 14;7(1):10. doi: 10.3390/healthcare7010010. PMID: 30646533; PMCID: PMC6473374.
[3] Bromhexine. In: Lexi-Drugs Multinational Online [database on the internet]. Hudson (OH): Lexicomp Inc.: 2.22 [updated 15 November 2023; cited 21 November 2023]. Available from: https://online.lexi.com/.
[4] Seyffart G. Drug dosage in renal insufficiency. Springer Science & Business Media; 2012 Dec 6.
วันที่ตอบ : 08 ธ.ค. 66 - 08:56:52




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110