ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
หากผู้ป่วย stroke ที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเกิดอาการ มีแนวทางการรักษาอย่างไรต่อไป แ

หากผู้ป่วย stroke ที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเกิดอาการ มีแนวทางการรักษาอย่างไรต่อไป แล้วสามารถให้ alteplase เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ทราบระยะเวลาการเกิดหรือไม่ อยากทราบเป็นความรู้เพิ่มเติมค่ะ

[รหัสคำถาม : 61] วันที่รับคำถาม : 17 ก.พ. 63 - 09:40:49 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

- ประเมินข้อบ่งใช้
จากที่เจ้าของกระทู้แจ้งว่าผู้ป่วยมีอาการของ stoke แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าเป็นชนิด ischemic stroke หรือ hemorrhagic stroke ดังนั้นควรมีค่าทางห้องปฏิบัติการช่วยวินิจฉัยว่าเป็นชนิดใด ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) เป็นยากลุ่ม fibrinolytic drugs มีข้อบ่งใช้สำหรับ
1. ใช้สำหรับ acute arterial ischemic stroke โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา หรือ ประสาทศัลยแพทย์ หรือ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน สาหรับอายุรแพทย์ทั่วไปและแพทย์ทั่วไปสามารถสั่งได้ในโรงพยาบาลที่มี stroke unit ที่ได้รับการรับรองโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ ได้รับการฝึกอบรม หรืออยู่ภายใต้เครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองเท่านั้น
2. ใช้สำหรับ massive pulmonary embolism ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด massive bleeding และมี hemodynamic instability
3. ใช้ในกรณีที่มี acute vascular access thrombosis (หมายถึง A-V fistula หรือ A-V graft สำหรับทำhemodialysis)

- ประเมินข้อห้ามใช้
ผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้แจ้งในรายละเอียดว่าผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้อะไรบ้าง

- ประเมิน door-to-needle time
ข้อมูลจาก American Heart Association/American Stroke Association (AHA/ASA) ระบุว่า door-to-needle time ที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดคือ ไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง ในผู้ป่วยรายนี้ไม่ทราบเวลาที่เกิดอาการจึงไม่สามารถบอกได้ว่าเกินระยะเวลาหรือไม่ จึงแนะนำให้ใช้ยา rtPA แบบผู้ป่วยที่ door-to-needle มากกว่า 4.5 ชั่วโมง ซึ่งในกรณีนี้แพทย์ต้องเป็นผู้ประเมิน risk กับ benefit ที่จะได้รับในผู้ป่วยรายนี้

เอกสารอ้างอิง

[1] รายการยาในบัญชียาสาหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หน้า 16
[2] Fonarow GC, Smith EE, Saver JL, et al. Improving door-to-needle times in acute ischemic stroke the design and rationale for the american heart association/american stroke association's target: stroke initiative. Stroke 2011;42(10):2983-9.
วันที่ตอบ : 06 มี.ค. 63 - 09:56:13




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110