ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การใช้ยา

การรักษาไมเกรน อยากทราบว่าประสิทธิภาพ Sumatriptan กับ ergot ต่างกันไหมคะ

[รหัสคำถาม : 611] วันที่รับคำถาม : 04 ส.ค. 67 - 21:48:37 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่ง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดตุบ ๆ อาการแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน หรือไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น เสียง หรือแสง [1]
ยากลุ่ม triptans ถูกค้นพบและพัฒนาเพื่อใช้ในการรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน โดยกลไกของ triptans คือ ยาจับกับตัวรับ 5-HT1B และ 5-HT1D อย่างจำเพาะเจาะจง ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย แต่ยากลุ่ม ergot alkaloids มีการจับกับตัวรับ 5-HT1B และ 5-HT1D อย่างไม่จำเพาะเจาะจง จึงเกิดผลข้างเคียงมากกว่ายากลุ่ม triptans [5]
...
ยา sumatriptan เป็นยาในกลุ่ม triptans ที่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนกับยากลุ่ม ergot alkaloid ดังเช่น การศึกษาประสิทธิภาพของ sumatriptan 100 มก. เปรียบเทียบกับ ยาเม็ดสูตรผสม ergotamine tartrate 2 มก.และ caffeine 200 มก. ในผู้ป่วย 580 คน ผลการศึกษาพบว่า ยา sumatriptan สามารถบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ดีกว่ายาเม็ดสูตรผสม ergotamine tartrate โดย 66% ของผู้ป่วยที่ได้รับ sumatriptan อาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับยาเม็ดสูตรผสม ergotamine tartrate ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยเพียง 48% ที่อาการดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง และผู้ที่ใช้ยา sumatriptan ยังพบอาการปวดศีรษะซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาเม็ดสูตรผสม ergotamine tartrate นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ sumatriptan ยังพบผลข้างเคียงในเรื่องของคลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง/เสียงหลังใช้ยาภายใน 2 ชั่วโมงน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาเม็ดสูตรผสม ergotamine tartrate อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) [6]
...
สรุป ยา sumatriptan มีประสิทธิภาพมากกว่า ergot alkaloids ในการใช้รักษาไมเกรนเฉียบพลัน รวมถึง sumatriptan เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าและผลข้างเคียงที่เกิดเป็นระดับไม่รุนแรงด้วย

เอกสารอ้างอิง :
[1] Waller DG. Migraine and other headaches. In: Waller DG, editor. Medical Pharmacology and Therapeutics. 6th ed. London: Elsevier; 2022. 342-9.
[2] Whealy M, Becker WJ. The 5-HT1B and 5-HT1D agonists in acute migraine therapy: Ergotamine, dihydroergotamine, and the triptans. Handbook of clinical neurology. 2024;199:17-42.
[3] Vila-Pueyo M. Targeted 5-HT 1F therapies for migraine. Neurotherapeutics. 2018;15(2):291-303.
[4] Nichols CD, Amara SG, Sibley R. 5-hydroxytryptamine (serotonin) and dopamine. In: Brunton LL, Knollmann BC, eds. Goodman & Gilman's: The Pharmacological Basis of Therapeutics. 14th ed. McGraw-Hill Education; 2023. https://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=3191§ionid=266700287
[5] Katzung BG. Histamine, serotonin, & the ergot alkaloids. In: Katzung BG, Vanderah TW, eds. Basic & Clinical Pharmacology. 15th ed. McGraw-Hill; 2021. Available from: https://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2988§ionid=250596392
[6] The Multinational Oral Sumatriptan and Cafergot Comparative Study Group. A randomized, double-blind comparison of sumatriptan and Cafergot in the acute treatment of migraine. Eur Neurol. 1991;31(5):314-22.
[7] Jacob H, Braekow P, Schwarz R, et al. Ergotamine stimulates human 5-HT4-serotonin receptors and human H2-histamine receptors in the heart. Int J Mol Sci. 2023;24(5):4749.
วันที่ตอบ : 04 ส.ค. 67 - 22:04:27




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110