ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
การใช้ยา

ทำไมจึงรักษาการติดเชื้อ H. pylori โดยใช้ regimen คือ omeprazole 20 mg 1 x 2 คู่กับ amoxicillin 500 mg 2 x 2 ในวันที่ 1-5 ตามด้วย omeprazole 20 mg 1 x 2, clarithromycin 500 mg 1 x 2 และ metronidazole 400 mg 1 x 3 ในวันที่ 6-10 แทนการใช้ยาสูตรเดียว 3 ชนิด เป็นเวลา 14 วัน และในกรณีที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillin สามารถเลือกใช้ regimen ใดแทนได้

[รหัสคำถาม : 644] วันที่รับคำถาม : 22 ก.ย. 67 - 17:44:55 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

American college of gastroenterology (ACG) [1] ได้แนะนำสูตรการรักษาแรกสำหรับ H. pylori ดังนี้
1. Clarithromycin triple therapy: ยากลุ่ม PPIs (proton pump inhibitors เช่น omeprazole) + Clarithromycin + Amoxicillin หรือ Metronidazole 10-14 วัน
2. Bismuth quadruple therapy: ยากลุ่ม PPIs + Bismuth subsalicylate + Metronidazole + Tetracycline 10-14 วัน
3. Concomitant therapy: ยากลุ่ม PPIs + Clarithromycin + Amoxicillin + Metronidazole 10-14 วัน
4. Sequential therapy: ยากลุ่ม PPIs + Amoxicillin ในวันที่ 1-5 ตามด้วยยากลุ่ม PPIs + Clarithromycin + Metronidazole ในวันที่ 6-10
5. Hybrid therapy: ยากลุ่ม PPIs + Amoxicillin ในวันที่ 1-8 ตามด้วยยากลุ่ม PPIs + Amoxicillin + Clarithromycin + Metronidazole ในวันที่ 8-14
6. Levofloxacin base therapy ประกอบด้วยสูตรดังต่อไปนี้ ยากลุ่ม PPIs + levofloxacin + Amoxicillin 10-14 วัน หรือ ยากลุ่ม PPIs + Amoxicillin + levofloxacin + metronidazole 5-7 วัน หรือ ยากลุ่ม PPIs + levofloxacin + nitazoxanide + doxycycline 7-10 วัน

ซึ่งแนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ H. pylori ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2558[2] แนะนำให้เลือกใช้สูตร Clarithromycin triple therapy [PPIs (standard or double dose) 1x2 + Clarithromycin 500 mg 1x1 + Amoxycillin 1 g 1x1 เป็นระยะเวลา 14 วัน] ซึ่งมีอัตราการกำจัดเชื้อ 85% เป็นลำดับแรก[2] แต่ในพื้นที่ที่มีอัตราเชื้อดื้อต่อยา clarithromycin มากกว่า 15-20% แนะนำให้ใช้สูตร sequential therapy [PPIs (standard dose) 1x2 + Amoxicillin 1 g 1x2 ในวันที่ 1-5 วัน ตามด้วยยากลุ่ม PPIs (standard dose) 1x2 + Clarithromycin 500 mg 1x2 + Metronidazole 500 mg 1x2 ในวันที่ 6-10] ซึ่งมีอัตราการกำจัดเชื้อมากกว่า 90% แทน โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา[3,4] ซึ่งอัตราการดื้อยา clarithromycin ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2556 - 2561 มีค่าเฉลี่ย 13.8%[6] ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม penicillins แนะนำให้ใช้ Clarithromycin triple therapy โดยให้ Metronidazole 500 mg 1x3 แทน Amoxycillin (มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ H. pylori 76.4%)[5] หรือ Bismuth quadruple therapy [PPIs (standard dose) 1x2 + Bismuth subsalicylate 300 mg 1x4 + Metronidazole 250 mg 1x4 หรือ 500 mg 1x3-1x4 + Tetracycline 500 mg 1x4 เป็นระยะเวลา 10-14 วัน] ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ 95.1% [5] ทั้งนี้ขึ้นกับอัตราการดื้อยา clarithromycin ของเชื้อในพื้นที่รักษา

เอกสารอ้างอิง :
[1]. Chey, William D, Leontiadis, Grigorios I, Howden, Colin W, et al. ACG Clinical Guideline: Treatment of Helicobacter pylori Infection. American Journal of Gastroenterology 112(2):p 212-239, February 2017. | DOI: 10.1038/ajg.2016.563
[2]. กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในประเทศไทย พ.ศ. 2558 [อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทคอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด; 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gastrothai.net/source/content-file/191_1.Helicobacter%20Pylori.pd
[3]. fKim JS, Kim BW, Hong SJ, Kim JI, Shim KN, Kim JH, et al. Sequential Therapy versus Triple Therapy for the First Line Treatment of Helicobacter pylori in Korea: A Nationwide Randomized Trial. Gut And Liver [Internet]. 2016 Jul 15;10(4):556–61. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27114421/
[4]. Nyssen OP, Martínez B, Mégraud F, Savarino V, Fallone CA, Bazzoli F, et al. Sequential versus Standard Triple Therapy for First-Line Helicobacter pylori Eradication: An Update. Antibiotics (Basel). 2024 Jan 30;13(2):136. doi: 10.3390/antibiotics13020136. PMID: 38391522; PMCID: PMC10885881.
[5]. Seo SI, Lim H, Bang CS, Yang YJ, Baik GH, Lee SP, et al. Bismuth-Based Quadruple Therapy versus Metronidazole-Intensified Triple Therapy as a First-Line Treatment for Clarithromycin-Resistant Helicobacter pylori Infection: A Multicenter Randomized Controlled Trial. Gut And Liver [Internet]. 2022 Feb 11;16(5):697–705. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35145043/
[6]. Shoosanglertwijit R, Kamrat N, Werawatganon D, Chatsuwan T, Chaithongrat S, Rerknimitr R. Real‐world data of Helicobacter pylori prevalence, eradication regimens, and antibiotic resistance in Thailand 2013–2018. [Internet]. 2019 Jun 24;4(1):49–53. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32055697/

วันที่ตอบ : 25 ก.ย. 67 - 15:22:29




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110