ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ยาตัวไหนที่ต้องระวังในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย

ยาตัวไหนที่ต้องระวังในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย

[รหัสคำถาม : 68] วันที่รับคำถาม : 27 ก.พ. 63 - 10:08:28 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่สาเหตุความผิดปกติจากกระบวนการสังเคราะห์ globin chains ที่บกพร่อง ทำให้ไม่สามารถสร้าง hemoglobin ที่ปกติได้ แบ่งประเภทตามความผิดปกติของการสังเคราะห์ globin chain ที่บกพร่อง ได้แก่ หากมีการกลายพันธุ์ที่ beta-globulin gene จะทำให้เกิด beta-thalassemia และ กรณีมีการขาดหายไปของ alpha-globulin gene เรียกว่า alpha-thalassemia ลักษณะของโรคธาลัสซีเมีย จะพบ เม็ดเลือดแดงขนาดเล็ก (microcytic) สีจาง (hypochromic) และมีภาวะ hemolytic anemia ซึ่งโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแถบ
เมดิเตอเรเนียน ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของการสังเคราะห์ globulin ดังกล่าวข้างต้น [1,2] ผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จำเป็นต้องได้รับเลือดสม่ำเสมอ จึงทำให้มีโอกาสเกิดภาวะเหล็กเกิน ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานธาตุเหล็กและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง [1]

ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระมัดระวังในการใช้ยาบางชนิด คือ ผู้ป่วยโรค alpha-thalassemia หรือ hemoglobin H disease โดยยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะ hemolysis ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ ในขนาดยาปกติที่ใช้ในการรักษา (therapeutic doses) เช่น Sulfonamide, Sulfamethoxazole, Sulfanilamide, Sulfasalazine, Sulfadimidine, Glibenclamide, Primaquine, Pamaquine, Chloroquine, Nitrofurantoin, Nalidixic acid, Phenazopyridine, Dapsone, Ciprofloxacin, Chloramphenicol, Methylthionium chloride (methylene blue), Vitamin K analogs และ Ascorbic acid [2]

References:
[1] Benz EJ. Disorders of Hemoglobin. In: Jameson JL, Kasper DL, Longo DL, Fauci AS, Hauser SL, Loscalzo J. Harrison’s Principles of Internal Medicine. 20th Edition. New York: McGrew-Hill Education; 2018. p696.
[2] Long B, Koyfman A. Sickle Cell Disease and Hereditary Hemolytic Anemias. In: Tintinalli JE, Ma O, Yealy DM, Meckler GD, Stapczynski J, Cline DM, Thomas SH. eds. Tintinalli's Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide, 9e New York, NY: McGraw-Hill; . http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=2353§ionid=215042510. Accessed March 10, 2020.

วันที่ตอบ : 10 มี.ค. 63 - 13:25:17




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110