ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
ทำไมผู้ที่มีประวัติใช้ยา sertraline ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ถาวร ถึงแม้จะหยุดยาไป

ทำไมผู้ที่มีประวัติใช้ยา sertraline ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ถาวร ถึงแม้จะหยุดยาไปนานแล้วก็ตาม
อยากทราบว่ากลไกลของยา sertraline เกี่ยวข้องยังไงกับการที่ทำให้ผู้บริจาคไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ถาวร

[รหัสคำถาม : 84] วันที่รับคำถาม : 25 มี.ค. 63 - 15:05:07 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ตามแนวทางของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย แนะนำว่าผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาโรคซึมเศร้าและได้รับยา sertraline ทางสภากาชาดไทยพิจารณาที่จะไม่รับบริจาคโลหิตถาวร[1] จากการสืบค้นข้อมูล พบการศึกษาแบบ meta-analysis พบว่าผลข้างเคียงสำคัญของยา sertraline ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRIs[2] สามารถเพิ่มความเสี่ยงเลือดออก(bleeding) มากถึง 36% เมื่อเทียบกับยาหลอก โดยมีค่า OR 1.41 (95% CI 1.27-1.57)[3] โดยพบว่า sertraline มีฤทธิ์ยับยั้ง serotonin-mediated platelet activation ส่งผลให้การทำงานของเกล็ดเลือดบกพร่อง[4] อีกทั้งการศึกษาแบบ RCT พบว่า มีการลดลงของการปลดปล่อย platelet markers ได้แก่ β-thromboglobulin[5] ซึ่งเป็น marker ที่หลั่งออกมาจากเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นในร่างกาย[6] และพบการลดลงของ P-selectin[5] ซึ่งเป็น active marker ที่จะแสดงบนเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นมีระดับลดลง[6] การที่ platelet marker ดังกล่าวลดลงจะทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการห้ามเลือดลดลง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะเลือดออกได้และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากมีการใช้ sertraline ร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาในกลุ่ม NSAIDs โดยจะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกนานขึ้น[4] อาการที่อาจพบได้ เช่น จ้ำเลือดที่ผิวหนัง จุดเลือดออกขนาดเล็กในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ หลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ เลือดกำเดาไหล เลือดออกในทางเดินอาหาร หรืออาการรุนแรงที่อาจพบได้ เช่น อาการตกเลือดหลังคลอดทันที รวมไปถึงภาวะเลือกออกในสมอง[4]
ในส่วนของเภสัชจลนศาสตร์ของยา sertraline มีการกระจายยาสูง พบความเข้มข้นของยา sertraline และ N-desmethylsertraline (DMS) ซึ่งเป็น metabolite ของยาที่ตับประมาณ 20-50 เท่าเมื่อเทียบกับระดับยาในเลือด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายา sertraline มีความชอบไขมันสูง[5] ยาถูก metabolized ที่ตับเป็นหลัก และมีการศึกษาที่สนับสนุนว่า ยา sertraline มีการสะสมในร่างกายน้อย จากการศึกษา RCT พบว่า ความเข้มข้นของยาในเลือดและการกำจัดยา sertraline ไม่ได้รับอิทธิพลจากเวลาและอาหารในการบริหารยา จากกราฟระหว่างความเข้มข้นของยาsertralineในเลือดและเวลาจะเห็นได้ว่ายา sertraline จะถูกกำจัดออกจากร่างจนเกือบหมดเมื่อระยะเวลาผ่านไปเกินกว่า 70 ชั่วโมง[12]
ดังนั้น ผู้บริจาคโลหิตที่มีประวัติการใช้ยา sertraline สามารถที่จะบริจาคเลือดได้หากมีการหยุดยาเกินกว่า 3 เดือน แต่ขึ้นกับข้อกำหนดของศูนย์ที่รับบริจาคโลหิต

วันที่ตอบ : 21 มี.ค. 64 - 15:48:40




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110