ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
อยากทราบวิธีการทำ skin test ของยา streptomycin และวิธีการเจือจางยา

อยากทราบวิธีการทำ skin test ของยา streptomycin และวิธีการเจือจางยา

[รหัสคำถาม : 89] วันที่รับคำถาม : 03 เม.ย. 63 - 17:18:35 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การทำ skin test สามารถช่วยวินิจฉัยอาการแพ้ที่เกิดจากสาร IgE (IbE-mediated reaction) ซึ่งวิธีการทดสอบในปัจจุบันมี 2 วิธีได้แก่ prick method และ intradermal method โดยทางปฏิบัติจะใช้การตรวจ prick method ก่อน หากได้ผลลบจึงตรวจยืนยันด้วย intradermal method[1 ยา streptomycin เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม aminoglycoside ซึ่งมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคต่างๆเช่น วัณโรค แผลริมอ่อน ปอดอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ[2] บริหารยานี้ได้ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular) และฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravascular)[2,3]
ยา streptomycin มีรายงานการแพ้ยาแบบ anaphylaxis (IgE-mediated reaction) ได้น้อย หากต้องการทำ skin test เพื่อทดสอบการแพ้ที่เกิดจากสาร IgE จากยา streptomycin สามารถทำได้ทั้งวิธี prick method และ intradermal method[4] โดยใช้ streptomycin ความเข้มข้นเริ่มต้น 0.1-1 mg/mL[4,5] และสามารถเพิ่มความเข้มข้นได้สูงสุด 20 mg/mL แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาที่ความเข้มข้นมากกว่า 1 mg/mL[4]
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำ skin test ยา streptomycin คือการเกิด anaphylaxis โดยมีรายงานการเกิดในคนที่ทำ skin test ยา streptomycin ความเข้มข้นยา 1 mg/mL ด้วยวิธี prick method 1 ราย[6] และวิธี intradermal method 1 ราย จึงแนะนำให้พิจารณาถึงความเสี่ยงในการเกิด anaphylaxis ที่รุนแรงในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนทำ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง อาจพิจารณาใช้วิธี BAT (Basophil activation test) ในการทดสอบการแพ้แทน[7] เนื่องจากเป็นการทดสอบการแพ้ที่เกิดจากสาร IgE เช่นเดียวกับวิธี skin test แต่ทำการทดสอบในหลอดทดลองจึงมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากกว่า[8]


เอกสารอ้างอิง
1. Krzysztof Kowal, Lawrence Dubuske. 2019. Overview of skin testing for allergic disease. Bruces S Bochner, Robert A Wood, Anna M Feldweg (Eds) , UptoDate. Available from: https/www.uptodate.com/contents/overview-of-skin-testing-for-allergic-disease?search=skin+test&source=search_result&selectedTitle=1%7E150& usage_type=default&display_rank=1 (Accessed 6 Jan, 2020)
2. Streptomycin. In: In Depth Answers [database on the Internet]. Greenwood Village (CO): Truven Health Analytics; 2017 [cited 2020 Jan 6]. Available from: www.micromedexsolutions.com. Subscription required to view.
3. Saverese DMF, Zand JM. Streptomycin (Drug information) In: Zand JM, ed. Uptodate. Weltham: UpToDate; 2020. (Accessed 6 Jan, 2020)
4. Roland Solensky. 2018. Hypersensitivity reactions to macrolides, aminoglycosides, tetracyclines, clindamycin, and metronidazole. N Franklin Adkinson, & Anna M Feldweg (Eds), UptoDate. Available from: https/www.uptodate.com/contents/hypersensitivity-reactions-to-macrolides-aminoglycosides-tetracyclines-clindamycin-and-metronidazole?search=Hypersensitivity+reactions+to+macrolides%2C+aminoglycosides%2C+tetracyclines%2C+clindamycin%2C+and+metronidazole&source=search_result&selectedTitle=1%7E150&usage_type=default&display_rank=1
(Accessed 6 Jan, 2020)
5. Romano A, Viola M, Di Fonso M, Rosaria Perrone M, Gaeta F, Andriolo M.
Anaphylaxis to streptomycin. Allergy. 2002 Nov;57(11):1087-8.
6. Dong-Min Jung, Joo-Hee Kim, Nan Young Choi, Jeong-Hee Choi, Yong Il Hwang, Seung Hun Jang, Ki-Suck Jung, Anaphylaxis associated with streptomycin skin testing, Annals of Allergy, Asthma & Immunology, Volume 112, Issue 1, 2014, Pages 81-82, ISSN 1081-1206.
7. McGowan EC, Saini S. Update on the performance and application of basophil activation tests. Curr Allergy Asthma Rep. 2013 Feb;13(1):101-9.


วันที่ตอบ : 03 เม.ย. 63 - 17:20:53




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110