ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
รบกวนถามหน่อยนะคะ คือ ผู้ป่วยเพศหญิง อายุประมาณ 50 ปี ตกต้นทุเรียนกระดูกหลังหัก

รบกวนถามหน่อยนะคะ คือ ผู้ป่วยเพศหญิง อายุประมาณ 50 ปี ตกต้นทุเรียนกระดูกหลังหัก แขนหัก ตอนนี้เดินได้ นั่งได้นิดหน่อย แต่จะลุกนั่ง จะลงนอนต้องมีคนช่วย นอกจากยาแก้ปวดที่หมอให้ จะใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอะไรดีคะ เพื่อให้กระดูกเร็วๆและมีความปลอดภัยอ่ะค่ะ

[รหัสคำถาม : 90] วันที่รับคำถาม : 03 เม.ย. 63 - 19:00:05 ถามโดย : บุคคลทั่วไป

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกหัก เป้าหมายสำคัญคือลดอาการปวดและทำให้กระดูกเชื่อมติดในลักษณะเดิมหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งระยะเวลาในการสร้างเสริมกระดูกนั้นอาจใช้เวลาตั้งแต่สัปดาห์จนถึงหลายเดือน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาประมาณ 8-12 สัปดาห์[1]

ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาหารที่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูกได้แก่ แคลเซียม วิตามินดีและวิตามินซี โดยแคลเซียมและวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างกระดูก ปริมาณที่แคลเซียมที่ต้องการเพื่อเสริมสร้างกระดูกจะอยู่ระหว่าง 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนวิตามินดีช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียม โดยปริมาณวิตามินดีที่ต้องการคือ 50 ไมโครกรัมต่อวัน[2] การศึกษาพบว่าแคลเซียมและวิตามินดีสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงกระดูกหักได้ถึงร้อยละ 30[3] ทั้งนี้การรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เช่น ปวดท้อง การรับรสเปลี่ยนไป ไม่อยากอาหาร และคลื่นไส้ เป็นต้น[4] นอกจากนี้วิตามินซีก็มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูกได้เร็วขึ้นเช่นเดียวกัน โดยขนาดของวิตามินซีที่ต้องได้รับในแต่ละวันคือ 500 มิลลิกรัม[5,6] แต่การได้รับวิตามินซีอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เช่น ท้องเสีย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และหากได้รับในขนาดสูงเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวันอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้[7]

ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมกระดูกให้เชื่อมติดกันได้เร็วขึ้นอีกหลายชนิดได้แก่ วิตามินเค[8] วิตามินบี 6 โฟเลท และวิตามินบี 12[9] สังกะสี(Zinc)[10] ยา teriparatide[11] และยากลุ่ม bisphosphonates[12] เช่น alendronate, risedronate เป็นต้น แต่ยังต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพราะยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน




เอกสารอ้างอิง
1.สุมาลี ซื่อธนาพรกุล. การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกหัก (Rehabilitation After Fracture). เวชศาสตร์
ฟื้นฟูสาร[อินเทอร์เน็ต]. 2539 [เข้าถึงเมื่อ 7มกราคม2563]; 5(3). เข้าถึงได้จาก:
http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-
59.pdf?fbclid=IwAR23XEIEsN50KRge3c9xh7kxXZ93mdIbbfw4Vp-
o2Qo6QTQEZb7Ac1xoNy0
2.Doetsch AM, Faber J, Lynnerup N, Watjen I, Bliddal H, Danneskiold-Samsoe B. The effect of calcium and vitamin D3 supplementation on the healing of the proximal humerus fracture: a randomized placebo-controlled study. Calcif Tissue Int. 2004;75: 183-188.
3.van der Velde RY, BrouwersJRBJ, Geusens PP, Lems WF, van den Bergh JPW.Calcium and vitamin Dsupplementation: state of the art for daily practice. Food &Nutrition Research. 2014;58(1). http://dx.doi.org/10.3402/
fnr.v58.21796.
4 Lexi-Comp, Inc. Calcium and vitamin D supplementation in osteoporosis. In: Patient drug information.[Online]. Available from: UpToDate online. 2019. [cited 2020 Jan 8].
5 Yilmaz C, Erdemli E, Selek H, Kinik H, Arikan M, Erdemli B. The contribution
of vitamin C to healing of experimental fractures. Arch Orthop Trauma Surg.
2001;121(7):426-428.
6 Alcantara-Martos T, Delgado-Martinez AD, Vega MV, Carrascal MT,Munuera-Martinez L. Effect of vitamin C on fracture healing in elderly osteogenic disorder Shionogi rats. J Bone Joint Surg Br. 2007;89(3):402-407.
7 Lexi-Comp, Inc. Vitamin C (ascorbic acid): Drug information. In: Patient drug
information.[Online]. Available from: UpToDate online. 2020. [cited 2020 Jan 12].
8 Hao G, Zhang B, Gu M, Chen C, Zhang Q, Zhang G, Cao X. Vitamin K intake and
the risk of fractures: A meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2017
Apr;96(17):e6725.
9 Stone KL, Lui LY, Christen WG, et al. Effect of Combination Folic Acid, Vitamin B6 , and Vitamin B12 Supplementation on Fracture Risk in Women: A Randomized, Controlled Trial. J Bone Miner Res. 2017;32(12):2331–2338.
10 Sadighi A, Roshan MM, Moradi A, Ostadrahimi A. The effects of zinc
supplementation on serum zinc, alkaline phosphatase activity and fracture
healingof bones. Saudi Med J. 2008 Sep;29(9):1276-9. Erratum in: Saudi Med J.
2008Dec;29(12):1836. PubMed PMID: 18813411.
11 Shi Z, Zhou H, Pan B, Lu L, Liu J, Kang Y, Yao X, Feng S. Effectiveness of
Teriparatide on Fracture Healing: A Systematic Review and Meta-Analysis. PLoS
One. 2016 Dec 20;11(12):e0168691.
12 Xue D, Li F, Chen G, Yan S, Pan Z. Do bisphosphonates affect bone healing? A
meta-analysis of randomized controlled trials. J Orthop Surg Res. 2014 Jun
5;9:45.

วันที่ตอบ : 03 เม.ย. 63 - 19:09:17




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110