ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยาและสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"

Search :
แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถใช้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนและโรคไตไ

แคลเซียมคาร์บอเนตสามารถใช้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนและโรคไตได้หรือไม่

[รหัสคำถาม : 91] วันที่รับคำถาม : 03 เม.ย. 63 - 21:20:14 ถามโดย : บุคลากร วิทยาศาสตร์สุขภาพ

เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม

No : 1

ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนควรได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารและจากการได้รับเสริมรวม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน [1,2,3] อย่างไรก็ตามควรระวังการใช้แคลเซียมปริมาณสูงในผู้ป่วยโรคไตเพราะอาจทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง นอกจากนี้ยังมีรายงานการสะสมของผลึกแคลเซียมที่หลอดเลือดแดง (arterial calcification) และการเกิดหัวใจและหลอดเลือดได้ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังโดยมีค่าการกรองของไต (eGFR) ≤ 30 ml/min [3,4]
แคลเซียมคาร์บอเนต 1000 mg จะได้แคลเซียม 400 มิลลิกรัม แคลเซียมคาร์บอเนตแนะนำ ขนาด 500 มิลลิกรัมถึง 4000 มิลลิกรัมต่อวันแบ่งให้พร้อมมื้ออาหาร [3] การได้รับแคลเซียม 2000 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่อรวมทั้งจากแคลเซียมที่ได้รับจากอาหารและการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมอาจเกิดนิ่วในไตโดยความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไตจะเพิ่มขึ้นในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่ได้รับการรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริมเมื่อเทียบกับยาหลอก ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาหารไม่ย่อยหรือท้องผูก[5,6,7]
ดังนั้นการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่เป็นโรคกระดูกพรุนร่วมกับโรคไตสามารถใช้ได้ตามปกติในผู้ป่วยที่มี eGFR > 30 ml/min แนะนำให้ใช้ขนาด 500 มิลลิกรัมถึง 4000 มิลลิกรัม ต่อวันโดยแบ่งให้พร้อมมื้ออาหาร ให้ได้แคลเซียมรวม 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ป่วยที่มี eGFR ≤ 30 ml/min [4,5] การได้รับแคลเซียมมากเกินอาจทำให้การเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เมื่อแคลเซียมสูงเป็นเวลานานอาจจะทำให้การสะสมของผลึกแคลเซียมที่หลอดเลือดแดง (arterial calcification) และการเกิดหัวใจและหลอดเลือด[6,7] ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการตายในผู้ป่วยโรคไต จึงควรติดตามระดับแคลเซียมอย่างใกล้ชิด และควรเสริมแคลเซียมคู่ไปกับการเสริมวิตามินดีซึ่งแนะนำขนาด 800 IU ต่อวันจะสามารถช่วยป้องกันการหักของกระดูกและช่วยทดแทนการขาดวิตามินดีในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง [1,4]

เอกสารอ้างอิง
1. Dye LR, Gillam MP, Hessen MT, Marcellin L, Mauer MP, Milham B and et.al. Clinical
overview : Osteoporosis. Available: https://www.clinicalkey.com/#!/content/67-
s2.0-1214e54d-2bd5-42b3-bfd1-18ffe4c6822f?scrollTo=%23drug-therapy-
heading-31. Access 6 Jan 2020.
2. Rosen HN, Drezner MK, MDDye LR, Gillam MP, Hessen MT, Marcellin L and et.al.
Overview of the management of osteoporosis in postmenopausal women.
Available: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-the-management-
of-osteoporosis-in-postmenopausal-women?search=osteoporosis%20treatment
%20guidelines&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=
default&display_rank=1#H6682285. Access 6 Jan 2020.
3. Lexicomp. Calcium carbonate : Drug information.Available:https://www.uptodate.
com/contents/calcium-carbonate-drug-information?search=calcium%20carbo
nate&source=panel_search_result&selectedTitle=1~134&usage_type
=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1#F144369. Access 6 Jan 2020.
4. Miller PD. Osteoporosis in patients with chronic kidney disease: Management.
Available: https://www.uptodate.com/contents/osteoporosis-in-patients-with-
chronic-kidney-disease-management?sectionName=Calcium%20and%20vita
min%20D&search=osteoporosis%20treatment%20guidelines&topicRef=
2023&anchor=H189268647&source=see_link#H189268647. Access 6 Jan 2020.
5. Rosen HN. Calcium and vitamin D supplementation in osteoporosis.
Available: https://www.uptodate.com/contents/calcium-and-vitamin-d-
supplementation-in-osteoporosis?search=osteoporosis%20treatment%20
guidelines&topicRef=2064&source=see_link#H11. Access 6 Jan 2020.
6. Jackson RD, LaCroix AZ, Gass M, Wallace RB, Robbins J, Lewis CE and et.al. Calcium
plus vitamin D supplementation and the risk of fractures. N Engl J Med. 2006
Feb 16;354(7):669-83. Erratum in: N Engl J Med.2006 Mar 9;354(10):1102.
PubMed PMID: 16481635.
7. Block GA, Spiegel DM, Ehrlich J, Mehta R, Lindbergh J, Dreisbach A, Raggi P.Effects of
sevelamer and calcium on coronary artery calcification in patients new to hemodialysis.
Kidney Int. 2005 Oct;68(4):1815-24. PubMed PMID: 16164659.

วันที่ตอบ : 03 เม.ย. 63 - 21:30:48




พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110