A A A

          เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 The Royal Swedish Academy of Sciences ได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบล ประจำปี 2022 ในสาขาเคมี ให้แก่นักวิทยาศาสตร์จำนวน 3 ท่าน คือ ศาสตราจารย์ Carolyn R. Bertozzi จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา, ศาสตราจารย์ Morten Meldal จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และ ศาสตราจารย์ K. Barry Sharpless จาก Scripps Research ประเทศสหรัฐอเมริกา จากผลงานการพัฒนา click chemistry และ bioorthogonal chemistry

 Clickchem

รูปที่ 1 แนวคิดการเกิดปฏิกิริยา click chemistry  

 Click Chemistry

          “Click chemistry” เป็นแนวความคิดเริ่มต้นมาจากศาสตราจารย์ K. Barry Sharpless ในปี คศ. 2000 ที่ต้องการพัฒนาปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และ ไม่มี by-product ต่อมา ศาสตราจารย์ Sharpless และ ศาสตราจารย์ Meldal ต่างได้นำเสนอปฏิกิริยาการปิดวงระหว่างสารประกอบ azide และ alkyne โดยมี copper เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (copper catalysed azide-alkyne cycloaddition, Cu-AAC) ต่อมา ศาสตราจารย์ Bertozzi ได้พัฒนา click reaction แบบไม่ต้องใช้ copper เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา แต่ใช้ strain ของโมเลกุลสารประกอบ alkyne ที่มีลักษณะเป็นวงขนาดใหญ่มาช่วยในการเกิดปฏิกิริยา (copper-free strain-promoted alkyne-azide cycloaddition, SPAAC)  ทำให้สามารถใช้ในการทำปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิตได้เพื่อตรวจวัด glycan บนผิวเซลล์

 

          Cu-AAC เป็นปฏิกิริยาที่สามารถใช้เชื่อมต่อโมเลกุลของสารตั้งต้นสองชนิด คือ สารประกอบ azide และ สารประกอบ alkyne โดยมี copper เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้โมเลกุลทั้งสองเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างจำเพาะเจาะจง โดยส่วนของหมู่ azide กับ alkyne จะเกิดปฏิกิริยาการปิดวง ได้เป็นวงแหวน 1,2,3-triazole ดังแสดงในรูปที่ 1 การเกิดปฏิกิริยานี้ เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย เสมือนกับการเสียบหัวของเข็มขัดนิรภัยเข้าด้วยกันแล้วเกิดเสียง “คลิก” ทำให้ปฏิกิริยานี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการคิดค้นยาใหม่ (Drug discovery) การพัฒนาระบบนำส่งยา (Drug delivery system) ตลอดจนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านต่าง ๆ  

 

การประยุกต์ใช้ click chemistry ในทางเภสัชกรรม

  • การคิดค้นยาใหม่ (Drug discovery) Cu-AAC ใช้ในการค้นหาสารต้นแบบ (lead compound) ในการพัฒนายาใหม่ด้วยเทคนิค high-throughput screening, Fragment-based drug discovery (FBDD) และ Dynamic Template-Assisted Strategies in Fragment-Based Drug Discovery ตัวอย่างสารต้นแบบที่ได้มาจาก Cu-AAC ส่วนใหญ่จะเป็นสารกลุ่ม enzyme inhibitors ได้แก่ Protein Tyrosine Phosphatase Inhibitors, Protein Kinase Inhibitors, Glycosyltransferase Inhibitors, Metalloproteinase Inhibitors, Acetylcholinesterase inhibitors เป็นต้น
  • การนำส่งยา (Drug delivery) Cu-AAC ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโมเลกุลยากับ polymer เพื่อทำ Polymer-based drug delivery systems หรือ การเชื่อมต่อระหว่างโมเลกุลยากับ antibody หรือ carbon nanotube เพื่อใช้ในการนำส่งยาอย่างจำเพาะเจาะจงไปยังตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ เช่น เซลล์มะเร็ง เป็นต้น

  

เอกสารอ้างอิง

 

เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ภญ.ลือลักษณ์ ล้อมลิ้ม
สาขาวิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

#DICRXPSU #CLICKCHEMISTRY #NOBELPRIZE2022 #45thPharmacyPSU #PharmaKnowledgeForMankind

CONTACT US074-288895
Send us a messagepharmacy-dic@pharmacy.psu.ac.th
Visit usคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์